ปฏิทิน

คนตรงเวลา

วันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2554

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์

อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
       แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า ดอยหลวง หรือ ดอยอ่างกา ดอยหลวง หมายถึงภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า ดอยอ่างกา
ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
         สภาพภูมิประเทศ : ประกอบด้วยภูเขาสูงต่ำสลับซับซ้อน ซึ่งสูงจากระดับน้ำทะเล 2,565 เมตร โดยที่ป่าอินทนนท์เป็นแหล่งกำเนิดของต้นน้ำแม่กลาง แม่ป่าก่อ แม่ปอน แม่ยะ แม่แจ่ม แม่ขาน และเป็นส่วนหนึ่งของต้นน้ำแม่ปิงซึ่งเป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้าที่เขื่อนภูมิพล
สภาพอากาศ
        เนื่องจากดอยอินทนนท์มีความสูงมากถึง 2,565 เมตร อากาศจึงหนาวเย็นตลอดปีโดยในเดือนมกราคมเป็นเดือนที่มีอากาศหนาวเย็นมากที่สุดแระมาณ 5.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิใกล้เคียงกับประเทศคานาดา และอุณหภูมิลดลงถึง -8 องศาเซลเซียส แต่อย่งไรก็ตามจะมีฝนตกบ้างในเดือนพฤศจิกายนและมีเมฆหมอกปกคลุมตลอดเวลา
พรรณไม้และสัตว์ป่า
         ป่าไม้ชนิดต่าง ๆ ที่ขึ้นบนยอดดอยสูงนั้นถือเป็นมรดกที่มีค่ามากในอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ซึ่งประกอบด้วยป่าไม้หลายชนิด เช่น ป่าดงดิบชื้น ป่าสน ป่าเต็งรังและป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจ ได้แก่ สัก ตะเคียน สนเขา เต็ง เหียง แดง ประดู่ รกฟ้า มะค่า เป็นต้น ดอกไม้สีสวยงามหลายชนิดที่สร้างสีสันให้กับยอดดอยอิทนนท์ไม่น้อย อันได้แก่ ฟ้ามุ่ย ช้างแดง รองเท้า นารีและกุหลาบป่า
       สำหรับสัตว์ป่ามีจำนวนมากกว่า 446 สายพันธุ์ แต่สัตว์ที่โดดเด่นของดอยอินทนนท์กลับเป็นสัตว์เล็ก ๆ เช่นเต่าหกเป็นเต่าบกที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย บริเวณชุ่มน้ำและลำห้วยตั้งแต่ กม. 31 ใกล้กับที่ทำการอุทยานแห่งชาติจนถึงระดับความสูง 2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลางก็เป็นแหล่งอาศัยของกะท่าง รวมทั้งปลาค้างคาวที่พบตามสำน้ำ กม.   24-31
การดูนก
ตามลักษณะเด่นของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จะมีนกนานาชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าแห่งนี้ จากการสำรวจพบว่ามีนกถึง 364 ชนิด จากจำนวน 915 ชนิดที่พบในประเทศไทย ซึ่งในอนาคตอาจจะเพิ่มมากขึ้นกว่านี้มีนกบางชนิดที่หาดูไม่ได้แล้งในที่แห่งอื่น เช่น นกศิวะหางสีตาล นกกระจี๊ดคอสีเทาและนกกินปลีหางยาวเขียว ชนิดย่อยดอยอ่างกา ซึ่งพบที่นี่แห่งเดียวในโลก หากมีลมาในช่วงเดือนตุลาคมป่าก็จะค฿กคักป็นพิเศษ ทั้งนกอพยพและนักดูนกด้วย จุดดูนกที่น่าสนใจ เช่น บริเวณ กม. 13 ซึ่งเป็นจุดดูนกกางเขนน้ำหลังดำ นกพญาไฟคดเทา นกนางแอ่นตะโพกแดง กม. 20 โดยเฉพาะอย่างยิ่งหนองน้ำหลังบ้านไผ่ไพรวัลย์มีคนพบนกอัญชันหางดำ นกที่พบได้ยากและเป็นที่ใฝ่ฝันว่าจะได้เห็นสักครั้งของนักดูนก
การเดินทาง
         ระยะทางจากตัวเมืองขึ้นไปจนถึงยอดดอยอินทนนท์ประมาณ 106 กิโลเมตร ออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวงหมายเลข 108 เชียงใหม่-จอมทอง ถึงหลักกิโลเมตรที่ 57 ก่อนถึงอำเภอจอมทอง 1 กิโลเมตร แยกขวาเข้าทางหลวงหมายเลข 1009 สายจอมทอง-อินทนนท์ ระยะทาง 48 กิโลเมตรถึงยอดดอยอินทนนท์ เป็นถนนลาดยางอย่างดีแต่ทางค่อนข้างสูงชัน รถที่นำขึ้นไปจะต้องมีสภาพดีนักท่องเที่ยวต้องเสียค่าธรรมเนียมบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 8 ผู้ที่ไม่มีรถยนต์ส่วนตัวสามารถขึ้นรถสองแถวที่หน้าวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหารหรือที่น้ำตกแม่กลาง ซึ่งจะเป็นรถโดยสารประจำทางไปจนถึงที่ทำการอุทยานฯตรงหลักกิโลเมตรที่ 31 และหมู่บ้านใกล้เคียง ค่าโดยสาร 20 บาทต่อคน แต่หากต้องการจะไปยังจุดต่างๆ ต้องเหมาไปคันละประมาณ 800 บาท
       มีศูนย์บริการนักท่องเที่ยวตั้งอยู่บริเวณกิโลเมตรที่ 9 ของเส้นทางหมายเลข 1009 มีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำ และมีนิทรรศการเกี่ยวกับธรรมชาติ สัตว์ป่า และอื่นๆ
        บริเวณที่ทำการมีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อม รวมถึงบ้านพัก ร้านอาหาร และสถานที่กางเต็นท์สำรองที่พักล่วงหน้าอย่างน้อย 1 อาทิตย์ที่กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ โทร. 0 2579 7223, 0 2579 5734
       เพื่อป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น และเป็นการส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) การใช้สถานที่เพื่อการพักค้างแรมหรือจัดกิจกรรมอื่นๆนอกเหนือจากบริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ต้องขออนุญาตจากหัวหน้าอุทยานฯเป็นลายลักษณ์อักษร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น