ปฏิทิน

คนตรงเวลา

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

มาฮู้จักเมือง "ยโสธร" กันเนาะ

 ยโสธร" เมืองประชาธิปไตย บั้งไฟโก้ แตงโมหวาน หมอนขวานผ้าขิต แหล่งผลิตข้าวหอมมะลิ "

     จังหวัดยโสธรมีเนื้อที่ 4,161 ตารางกิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีขนาดเล็กที่สุดในเขตอีสานตอนล่าง เป็นที่ราบสูงมีดินปนทราย ทางทิศเหนือมีภูเขาซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาภูพาน พืชสำคัญๆ ที่ปลูก เช่น ข้าว ปอ มันสำปะหลัง สามารถทำได้เฉพาะฤดูฝนเท่านั้น ในฤดูแล้งมีความแห้งแล้งมาก อากาศร้อนจัด ในฤดูหนาวอากาศหนาวจัด สามารเพาะปลูกพืชผักสวนครัวได้ดี สภาพของป่าเหลือน้อย มีลักษณะเป็นป่าโปร่ง ทางทิศตะวันตกและทิศตะวันออกเป็นที่ราบเหมาะสำหรับเป็นทุ่งเลี้ยงสัตว์ ทางทิศใต้เป็นที่ราบลุ่ม เหมาะแก่การทำนา มีแม่น้ำชีไหลผ่าน เป็นระยะทางประมาณ 110 กิโลเมตร 


     จากพงศาวดารเมืองยโสธรได้บันทึกไว้ว่า เมื่อราวๆ ปี พ.ศ. 2340 พระเจ้าวรวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าเมืองเวียงจันทน์ กับสมัครพรรคพวกเดินทางอพยพจะไปอาศัยอยู่กับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อเดินทางถึงดงผีสิงห์เห็นเป็นทำเลดี จึงได้ตั้งหลักฐานและสร้างเมืองที่นี่เรียกว่า "บ้านสิงห์ท่า" หรือ "เมืองสิงห์ท่า" ต่อมาใน พ.ศ. 2357 พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกฐานะบ้านสิงห์ท่าแห่งนี้ขึ้นเป็น "เมืองยโสธร" ขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีเจ้าเมืองดำรงบรรดาศักดิ์ เป็นพระสุนทรราชวงศา
      ในปี พ.ศ. 2515 ได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร โดยประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 70 ลงวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2515 ได้แยกอำเภอยโสธร อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา และอำเภอกุดชุม ออกจากจังหวัดอุบลราชธานี และรวมกันเป็นจังหวัดยโสธร ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2515
อาณาเขตติดต่อและการปกครอง :
ทิศเหนือ ติดต่อกับจังหวัดมุกดาหาร จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดนครพนม
ทิศใต้ ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
ทิศตะวันออก ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ด

ปัจจุบันจังหวัดยโสธรแบ่งการปกครองออกเป็น 8 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัย อำเภอป่าติ้ว อำเภอเลิงนกทา อำเภอกุดชุม อำเภอค้อวัง และอำเภอทรายมูล

ระยะทางระหว่างอำเภอเมืองไปอำเภอต่างๆ
อำเภอเมือง-อำเภอคำเขื่อนแก้ว 23 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอมหาชนะชัย 41 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอค้อวัง 70 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอป่าคิ้ว 28 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอเลิงนกทา 69 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอกุดชุม 37 กิโลเมตร
อำเภอเมือง-อำเภอทรายมูล 18 กิโลเมตร




ที่มา:http://www.baanmaha.com/community/thread7283.html

ของดีเมืองยโสธร

เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร
   
เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร
  
     ยโสธรเมืองเล็กที่งดงามด้วยวัฒนธรรมและงานบุญบั้งไฟ พร้อมอาหารเป็นเอกลักษณ์ ทั้งปลาส้มและลอดช่องยโสธร อีกทั้งยังมีเรื่องราวประวัติศาสตร์ที่ย่านบ้านสิงห์ท่า ใครได้มายโสธรแล้วไม่ไปเที่ยวชม ก็เหมือนมาไม่ถึง...

  
เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร   เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร
  
     ในอดีตยโสธรมีความเป็นมาตั้งแต่ยุคทวารวดี โดยมีบันทึกในพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าราชวงศา (พระวอ) เสนาบดีเก่าแห่งเมืองเวียงจันทน์ ท้าวหน้า ท้าวคำผง ท้าวทิตพรหม และท้ามมุม พร้อมด้วยไพร่พลอพยพไปอาศัยกับเจ้านครจำปาศักดิ์ เมื่อมาถึงดงผีสิงห์ เห็นทำเลที่ตั้งเหมาะสมแก่การตั้งถิ่นฐานจึงสร้างเมืองขึ้นที่บ้านสิงห์ท่า (เมืองสิงห์ท่า) และยกฐานะเป็นเมืองยโสธรในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ยโสธรถูกรวมเข้ากับกองหัวเมืองลาวฝ่ายตะวันออกเฉียงเหนือมีเมืองอุบลราชธานี เป็นเมืองเอก เรียกว่า มณฑลลาวกาว ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2456 ยโสธรกลายเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดอยบราชธานี และในปี พ.ศ. 2515 จึงได้ยกฐานะขึ้นเป็นจังหวัดลำดับที่ 71 ของประเทศไทย



เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร
  
เที่ยวชมเมือง
     จากความเป็นมาของเมืองนี้ ปัจจุบันยังคงเห็นรูปรอยความเจริญได้ที่ชุมชนบ้านสิงห์ท่า ชาวบ้านในชุมชนล้วนถ้อยทีถ้อยอาศัย อยุ่อย่างเรียบง่ายและสงบ มี ตึกแถวโบราณ งดงามด้วยสถาปัตยกรรมแบบชิโนโปรตุกีส ยุคสมัยเดียวกับที่จังหวัดภูเก็ต ถนนรอบบริเวณย่านสิงห์ท่า เป็นทางลัดเลาะเชื่อมต่อถึงกันระหว่างชุมชน ตลาด โรงเรียน รวมถึงวัด ซึ่งเป็นศูนย์รวมใจของชาวพุทธทั้งหลาย ยังมี ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สร้างด้วยสถาปัตยกรรมจีนดูตระการตา ในย่านนี้เป็นแหล่งทำปลาส้มและลอดช่องยโสธร ของฝากชื่อดังที่ไม่ควรดลาดชิมอีกด้วย

  
เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร
  
     วัดมหาธาตุ ภายในวัดเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธบุษยรัตน์ (พระแก้วหยดน้ำค้าง) พระพุทธรูปศิลปะเชียงแสน เป็นพระคู่เมืองของชาวยโสธรมายาวนาน หอไตรโบราณกลางสระน้ำ เป็นที่เก็บคัมภีร์ใบลานเก่าแก่ ที่สำคัญวัดมหาธานุเป็นที่ตั้งของพระธาตุยโสธร หรือพระธาตุอานนท์ บรรจุอัฐิธาตุของพระอานนท์ รูปทรงเจดีย์เป็นสี่เหลี่ยมศิลปะอิทธิพลลาว สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นสมัยรัตนโกสินทร์

  
เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร
  
เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร   เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร
  
     วัดสิงห์ท่า ประวัติของการก่อบ้านสร้างเมืองยโสธร เริ่มขึ้นที่วัดสิงห์ท่าแห่งนี้ โดยในยุคแรกที่สร้างบ้านสิงห์ท่าได้สร้างวัดแห่งนี้ขึ้นด้วย แต่ไม่มีคณะสงฆ์ ในยุคต่อมาได้ขุดค้นพบสิงห์หินและพระพุทธรูปใหญ่อยู่ในดง (บริเวณวัดสิงห์ท่าปัจจุบัน) จึงสถาปนาวัดแห่งนี้ขึ้นเป็นวัดสิงห์ท่า ปัจจุบันพระพุทธรูปโบราณปางมารวิชัย ก่อด้วยอิฐฉาบปูนลงรักปิดทองขนาดหน้าตักกว้าง 3 เมตรรูปนี้ ยังเป็นพระประธานของวัดสิงห์ท่า ซึ่งชาวยโสธรจัดให้มีการสรงน้ำหลังสงกรานต์เป็นประจำทุกปี



เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร   เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร
  
กินอร่อย
     ในเมืองยโสธรมีอาหารหลากหลาย โดยเฉพาะอาหารท้องถิ่นอีสานที่ขึ้นชื่อคือ ส้มตำ ในเขตชุมชนบ้านสิงห์ท่า พลาดไม่ได้ ควรไปชิม ปลาส้ม ซึ่งมีแหล่งผลิตอยู่ย่านบ้านสิงห์ท่า และวางขายทั่วไปในเมือง ส่วนของหวานต้องยกนิ้วให้ลอดช่องยโสธร เส้นเล็กเหนียว นุ่ม และหอมใบเตย มีขายตามร้านขนมหวานทั่วไป หากจะซื้อเป็นของฝากต้องไปแหล่งผลิตย่านบ้านสิงห์ท่า



เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร   เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร
  
ช้อปสนุก
     ของฝากจากเมืองยโสธรโดยมากเป็นงานหัตถกรรมที่ขึ้นชื่อคือ หมอนขิตทรงสามเหลี่ยม ตกแต่งลวดลายอย่างทันสมัย แหล่งผลิตอยู่ที่หมู่บ้านศรีฐาน อำเภอป่าติ้ว  ยังมีงานจักสานไม้ไผ่ ฝีมือดีของชาวบ้านทุ่งนางโอก และงานแกะสลักเกวียนจำลองที่บ้านนาสะไมย์ในเขตอำเภอเมืองยโสธร

  
เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร เยือนชุมชนบ้านสิงห์ท่า ค้นหาอดีตเมืองยโสธร
  
บั้งไฟยโสธร
     หากได้มาเยือนในช่วงวันเสาร์-อาทิตย์แรกของเดือนพฤษภาคมของทุกปี ที่นี่มีงานบุญยิ่งใหญ่คือ "บุญบั้งไฟ" หนึ่งในประเพณีฮีตสิบสอง ที่เชื่อกันว่า เป็นการบูชาเทพเจ้าที่รักษาเมือง เพื่อบูชาพญาแถนผู้สามารถดลบันดาลให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล เรือกสวนไร่นาจะได้อุดมสมบูรณ์ ซึ่งชาวอีสานสืบทอดประเพณีนี้มา และที่สวนสาธารณะพญาแถนยังมีฐานยิงบั้งไฟจำลองให้คนมาเยือนได้ชมอีกด้วย


สอบถามข้อมูลท่องเที่ยวได้ที่
ททท.สำนักงานอุบลราชธานี
พื้นที่รับผิดชอบ : ยโสธร,อำนาจเจริญ,อุบลราชธานี
264/ ถ.เขื่อนธานี อ.เมือง จ.อุบลราธานี 34000
โทรศัพท์. 0 4524 3770 , 0 4525 0714
โทรสาร. 0 4524 3771
อีเมล :
tatubon@tat.or.th
เว็บไซต์ :www.tourismthailand.org/ubonratchathani
  ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย
                                                    http://www.tatubon.orgที่มา : http://travel.mthai.com/travel-blog/40760.html

ประวัติความเป็นมาเมืองยโสธร

ประวัติความเป็นมา
จังหวัดยโสธร เมื่อประมาณปีพุทธศักราช 2314 เจ้าพระตา เจ้าพระวอ เสนาบดีเก่านครเวียงจันทร์พร้อมเจ้าคำผงและเจ้าฝ่ายหน้าได้อพยพครอบครัวและบริวารออกมาเพื่อตั้งรกรากใหม่ พระเจ้าศิริบุญสาร เจ้านครเวียงจันทร์เกิดหวาดระแวง จึงยกกองทัพมาปราบ เจ้าพระตาถึงแก่พิราลัย เจ้าพระวอได้รวบรวมไพร่พลหลบหนีไปพึ่งเจ้านครจำปาศักดิ์ เจ้าพระยาศิริบุญสารได้ยกกองทัพมาปราบอีก เจ้าพระวอถึงแก่พิราลัย เจ้าคำผงและบริวารจึงได้อพยพไปที่ดงอู่ผึ้งและสร้างเป็นเมืองถาวรขึ้นเมื่อปีกุน พ.ศ. 2322 แล้วมีหนังสือกราบบังคมทูลขอขึ้นอยู่ในขอบขัณฑสีมาของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และได้รับพระราชทานนามว่า เมืองอุบลและทรงตั้งเจ้าคำผงขึ้นเป็นเจ้าเมือง
  ในปี พ.ศ. 2329 ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 1 ท้าวคำผุ ท้าวคำสิงห์และท้าวมุม ซึ่งเป็นท้าวฝ่ายหน้าได้ขออพยพมาหาชัยภูมิใหม่ เพื่อก่อตั้งบ้านเรือนจนมาถึงดงผีสิงห์เป็นที่ทำเลดีใกล้ลำน้ำชี จึงหยุดบริวาร โดยท้าวมุมได้ไปตั้งบ้านสิงห์โคกและปกครองอยู่ ณ ที่นั้น ส่วนท้าวคำสิงห์และท้าวคำผุ ได้ไปตั้งอยู่บ้านสิงห์ท่า และในปี 2357 พระบามสมเด็จพระพุทธเลิศล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าให้ยกบ้านสิงห์ท่าขึ้นเป็นเมืองและพระราชทานนามเมืองว่า " ยศสุนทร " ต่อมาเรียกเป็น "ยโสธร " และให้เจ้าราชวงศ์สิงห์ท่า เป็นเจ้าครองเมืองมีราชทินนามเมืองว่า "พระสุนทรวงศาราช " เป็นเจ้าเมืองคนแรกของจังหวัดยโสธร ในปี พ.ศ. 2433 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและจัดรูปแบบการปกครองใหม่จนกระทั้งปี พ.ศ. 2443 กระทรวงมหาดไทยได้รวมเมืองยโสธรเข้ากับเมืองอุบลราชธานี และเมืองยโสธร แยกเป็นอำเภอยโสธร และอำเภอคำเขื่อนแก้ว ต่อมาเมือ่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2515 ได้มีกระกาศคณะปฎิวัติฉบับที่ 70 ตั้งอำเภอยโสธร ขึ้นเป็นจังหวัดยโสธร และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2515 โดยประกอบด้วย อำเภอเมืองยโสธร คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย ป่าติ้ว เลิงนกทา และอำเภอกุดชุม

ที่มา : http://yasothon.nso.go.th/yasothon/yasothon%20web/aboutpro.htm